สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
“The best quality for all…”
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช 2522 ด้วยเจตนารมณ์เพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกในการจัดทำหนังสือทั่วไป ตำราเรียน เอกสารประกอบคำบรรยายของมหาวิทยาลัย โดยมิได้มุ่งหวังผลกำไรทางธุรกิจเฉกเช่นผู้ประกอบการสำนักพิมพ์เอกชนทั่วไป จากเดิมมุ่งให้บริการเฉพาะคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ปัจจุบันขยายบริการแก่คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ และบุคคลทั่วไปด้วย
ประวัติสำนักพิมพ์
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยมติสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
- ส่งเสริมให้มีการแต่ง แปล เรียบเรียงตำรา คำสอน ผลงานวิจัยเอกสารประกอบการศึกษาและหนังสืออื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาการหรือสังคม
- ส่งเสริม แสวงหา เลือกสรรและจัดพิมพ์ตำรา คำสอน คำบรรยาย ผลงานวิจัย เอกสารประกอบการศึกษา และหนังสืออื่นๆ รวมถึงการจัดทำสื่อสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาการหรือสังคมอย่างมีมาตรฐาน
- ส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากตำรา คำสอน ผลงานวิจัย เอกสารประกอบการศึกษา และหนังสืออื่นๆ หรือสื่อสารสนเทศตาม (1) และ (2) ด้วยการประชาสัมพันธ์ หรือเผยแพร่ด้วยวิธีการอื่น ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
- ส่งเสริมให้บุคลากร นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้มีตำรา หนังสือหรือสื่อสารสนเทศที่มีคุณภาพดีและราคาเหมาะสม
ด้านบริหารทั่วไป
สำนักพิมพ์ฯ เริ่มดำเนินกิจการเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2552เป็นต้นมาการบริหารงานอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการบริหารสำนักพิมพ์ฯ ที่แต่งตั้งโดยอธิการบดีมีบุคลากรรวมทั้งสิ้น 13 คน (ไม่รวมผู้จัดการสำนักพิมพ์)โดยปฏิบัติงานที่สำนักงานท่าพระจันทร์จำนวน 3 คนและที่สำนักงานศูนยน์รังสิตจำนวน 10 คนทำหน้าที่ผลิตหนังสือเพื่อใช้ในการเรียนการสอนประมาณปีละ 50 เรื่องปัจจุบันได้จัดพิมพ์หนังสือ 4 ประเภทคือ
สำนักพิมพ์ฯ เริ่มดำเนินกิจการเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2552เป็นต้นมาการบริหารงานอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการบริหารสำนักพิมพ์ฯ ที่แต่งตั้งโดยอธิการบดีมีบุคลากรรวมทั้งสิ้น 13 คน (ไม่รวมผู้จัดการสำนักพิมพ์)โดยปฏิบัติงานที่สำนักงานท่าพระจันทร์จำนวน 3 คนและที่สำนักงานศูนยน์รังสิตจำนวน 10 คนทำหน้าที่ผลิตหนังสือเพื่อใช้ในการเรียนการสอนประมาณปีละ 50 เรื่องปัจจุบันได้จัดพิมพ์หนังสือ 4 ประเภทคือ
- หนังสือเพื่อการวางจำหน่ายทั่วไป เป็นหนังสือที่มียอดพิมพ์ขั้นต่ำ 1,000 เล่มขึ้นไป เนื่องจากเป็นหนังสือที่ใช้ภายใน มธ. แล้วยังเป็นที่ต้องการของนักศึกษาภายนอกและประชาชนผู้สนใจทั่วไปด้วย ซึ่งหนังสือช่องทางนี้ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนวางจำหน่ายทั่วประเทศ พร้อมควบคุมสินค้าและเสนอให้พิจารณาจัดพิมพ์ซ้ำด้วย
- หนังสือประกอบการเรียนการสอนเฉพาะใน มธ. หนังสือประเภทนี้มหาวิทยาลัยได้อนุมัติเงินสนับสนุนให้สำนักพิมพ์ฯ ดำเนินการจัดพิมพ์เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ใน มธ. ได้มีแหล่งพิมพ์หนังสือที่มีนักศึกษาเรียนจำนวนน้อย และเพื่อให้นักศึกษาได้มีหนังสือที่มีมาตรฐานใช้ในการเรียนการสอน ภายใต้ชื่อ “โครงการหนังสือวิชาการที่น่าพิมพ์” ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2549 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีหนังสือที่พิมพ์ในโครงการฯ เสร็จแล้วจำนวนทั้งสิ้น 245 ชื่อเรื่อง และอยู่ระหว่างการเตรียมต้นฉบับอีกจำนวนหนึ่งด้วย “โครงการหนังสือวิชาการที่น่าพิมพ์” จึงนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคณาจารย์ใน มธ. ที่จะเสนอต้นฉบับให้สำนักพิมพ์ฯ พิจารณาจัดพิมพ์เป็นหนังสือโดยไม่มีเรื่องการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นโครงการเพื่อการส่งเสริมการจัดพิมพ์ผลงานทางวิชาการเป็นหนังสือเพื่อประโยชน์ใช้ในการเรียนการสอน การขอตำแหน่งทางวิชาการ และยังเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพทางวิชาการอีกทางหนึ่ง หนังสือใน “โครงการหนังสือวิชาการที่น่าพิมพ์” จำหน่ายโดยศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนี้สำนักพิมพ์ฯ ยังได้นำไปออกบูธในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เดือนเมษายน และงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ เดือนตุลาคม ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เป็นประจำทุกปี
- หนังสือส่งเสริมความรู้ทั่วไป ชื่อหนังสือ “ธรรมศาสตราเสริมอาวุธทางปัญญาสู่สังคมไทย” เป็นหนังสือวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการขั้นพื้นฐานแก่นักศึกษาและประชาชน โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่างๆ หยิบยกประเด็นหรือคำสำคัญที่มีการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางมาอธิบาย เพื่อผู้อ่านได้เข้าใจความหมายของคำดังกล่าวได้อย่างถูดต้องตามหลักวิชาการ หนังสือชุด “ธรรมศาสตราเสริมอาวุธทางปัญญาสู่สังคมไทย” มีขนาดกระทัดรัด พกพาสะดวก
- หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) สำนักพิมพ์ฯ ได้นำหนังสือที่จัดพิมพ์ทั้งหมดไปจัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-book เพื่อตอบสนองการใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เพิ่มขึ้น โดยร่วมมือกับบริษัทเอกชน คือ บริษัท บุ๊คโปรโมชั่น แอนด์เซอร์วิส จำกัด และบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันสามารถผลิต e-book ขึ้นเพื่อการพาณิชย์แล้วจำนวนหนึ่ง